ฟันปลอม (ทันตกรรมประดิษฐ์)

ฟันปลอม (ทันตกรรมประดิษฐ์)

ฟันปลอม (Prosthodontic-Denture) White Teeth Dental Clinic

ฟันปลอม หรือ ฟันเทียม คืออะไร

             คือสิ่งประดิษฐ์ที่ทำขึ้นเพื่อใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว ป้องกันการเกิดปัญหาการล้มเอียงของฟันข้างเคียง การยื่นยาวของฟันคู่สบ ปัญหาข้อต่อขากรรไกร ช่วยในเรื่องการออกเสียงและความสวยงาม ชนิดของฟันเทียมแบ่งออกได้เป็น

ฟันปลอม ชนิดถอดได้ (Removable Dentures)

              หมายถึงสิ่งประดิษฐ์ซึ่งใช้ทดแทนฟันหนึ่งซี่ หรือมากกว่า ได้แก่ ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ และ ฟันเทียมทั้งปาก ผู้ป่วยสามารถใส่หรือถอดฟันปลอมชนิดนี้ได้ด้วยตนเอง มีทั้งที่ทำจากเรซินอะคริลิก (พลาสติก) และโลหะ ฟันเทียมชนิดถอดได้นี้ อาศัยการยึดกับตัวฟันด้วยตะขอ หรือความแนบสนิทของฐานฟันเทียมกับเนื้อเยื่อในช่องปาก

 

ฟันปลอม ชนิดติดแน่น (Fixed Dentures)

               คือสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้บูรณะฟันในกรณีที่มีการสูญเสียเนื้อฟันบางส่วน เนื่องมาจากรอยผุ หรือฟันแตกหักได้แก่ ครอบฟัน หรือกรณีที่ใช้ทนแทนฟันที่หายไป ได้แก่ สะพานฟันติดแน่น ซึ่งจะติดแน่นอยู่กับฟันที่เหลืออยู่ในช่องปาก ในการเตรียมฟันเพื่อทำสะพานฟันติดแน่นนั้นจะต้องมีการกรอแต่งฟันซี่ข้างเคียงที่ติดอยู่กับช่องว่างด้วย  วัสดุที่ใช้ทำครอบฟันหรือสะพานฟันนั้นอาจทำมากจากโลหะล้วน โลหะเคลือบกระเบื้องสีเหมือนฟัน หรือ ทำจากกระเบื้องล้วนไม่มีส่วนผสมของโลหะ

ทั้งนี้ฟันเทียมยังหมายรวมถึงรากเทียม  ซึ่งเป็นวัสดุโลหะที่มีรูปร่างคล้ายรากฟัน นำเข้าไปฝังไว้ในกระดูกขากรรไกรทดแทนรากฟันที่หายไปจากฟันที่ถูกถอนออกไป ใช้ร่วมกับฟันเทียมแบบถอดได้ หรือฟันเทียมแบบติดแน่น

รากเทียม (Dental Implant)

รากเทียม Implant - White Teeth Dental Clinic           

               ที่ทดแทนรากฟันจริง ผลิตจากวัสดุไทเทเนียม ซึ่งใช้ทางการแพทย์โดยทั่วไปที่ได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ เพื่อใช้ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรของคนไข้ในตำแหน่งที่สูญเสียฟันและรากธรรมชาติไป โดยทำหน้าที่ทดแทนรากฟันธรรมชาติเพื่อรองรับทันตกรรมฟันปลอม (denture), ครอบฟัน(crown) หรือสะพานฟัน (bridge) ให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติมากที่สุด

รากฟันเทียม ประกอบด้วย

1. Fixture คือ ส่วนที่ฝังอยู่ใต้เหงือก อยู่ในกระดูกขากรรไกร ทำหน้าที่แทนรากฟันธรรมชาติ

2. Abutment คือ ส่วนที่ทดแทนโครงสร้างของแกนฟัน เพื่อรองรับตัวครอบฟัน

3. Crown คือ ส่วนของตัวฟัน ทำมาจากเซรามิกลอกเลียนสีและรูปร่างของฟันธรรมชา

ขั้นตอนและกระบวนการรักษา

  1. X-Ray ฟันเพื่อประเมินสภาพของบริเวณที่จะฝังรากฟันเทียม เช่น ความหนาของเหงือก ความสูงของกระดูกขากรรไกร สภาพของฟันซี่ข้างเคียงเป็นต้น เพื่อใช้ในการวางแผนการรักษา เช่น การกำหนดขนาดและความยาวของตัวรากเทียม
  2. ผ่าตัดฝังตัวรากเทียม (Fixture) ลงไปในกระดูก เย็บแผล หลังจากนั้น 7 วันกลับมาเช็คสภาพแผล และตัดไหม ต่อจากนี้จะเป็นช่วงเวลาที่ต้องรอให้ตัวรากเทียม ยึดติดกับกระดูกขากรรไกรให้สมบูรณ์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและคุณสมบัติของรากเทียมที่ใช้งาน ซึ่งตามปกติจะมีคำแนะนำจากบริษัทผู้ผลิตว่า หลังจากปลูกตัวรากเทียมไปแล้วต้องทิ้งช่วงระยะเวลาที่ตัวรากเทียมจะยึดติดกับกระดูกขากรรไกรนานมากน้อยเท่าใด จึงจะสามารถใส่ตัวฟันได้
  3. ใส่แกนฟันจำลอง (coping) และพิมพ์ปากเพื่อส่งแลปทำตัวครอบฟัน แลปใช้เวลาทำประมาณ 5-7 วัน
  4. ใส่แกนฟันตัวจริง (abutment) และใส่ครอบฟันตัวจริง ปรับการสบฟันให้สามารถกัดสบได้เป็นปกติ
  5. นัดเช็คทุกๆ 6 เดือน หรือตามดุลยพินิจของทันตแพทย์

สะพานฟัน (Dental Bridge)

สะพานฟันคือ ฟันเทียมบางส่วนติดแน่นที่มีส่วนของครอบฟันยึดติดกับฟันธรรมชาติทั้งสองข้าง และมีส่วนของฟันแขวนอยู่ตรงกลางใช้ทดแทนฟันธรรมชาติที่หายไป 1-2 ซี่

Dentures : สะพานฟัน (Dental bridge) - White Teeth Dental Clinic

ข้อดีของสะพานฟัน

  • ให้ความสวยงาม
  • เป็นฟันเทียมติดแน่น
  • ให้ความแข็งแรง ในกรณีที่ฟันหลักยึดทั้ง 2 ข้างไม่แข็งแรงและจำเป็นต้องทำครอบฟัน
  • คงทนถาวร
  • ทำเสร็จภายใน 2 -3ครั้ง

ข้อเสียของสะพานฟัน

  • ต้องกรอเนื้อฟันออกมาก ในกรณีที่ฟันข้างเคียงเป็นฟันที่แข็งแรง การทำสะพานฟันจำเป็นต้องกรอเนื้อฟันข้างเคียงออกทั้ง 2 ซี่ ยิ่งในกรณีที่ฟันทั้ง  2 ซี่มีแนวการเรียงตัวไม่เหมือนกัน ในบางรายอาจจะต้องรักษารากฟันร่วมด้วย
  • ราคาสูงกว่าฟันเทียมบางส่วนถอดได้
  • การทำความสะอาดยากขึ้น ต้องอาศัยเครื่องมือบางอย่างและการดูแลรักษาความสะอาดที่ดี

ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟัน

1. ขั้นตอนการรักษาด้วยการทำสะพานฟันแบบธรรมดา

  • ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยและการเตรียมฟัน
  • การฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่จะกรอเพื่อเป็นฐานของสะพานฟัน
  • การกรอฟันเพื่อเป็นฐานให้แก่สะพานฟัน
  • การจดบันทึก สี ขนาด รูปร่างของฟันที่ต้องการในการทำสะพานฟัน
  • การพิมพ์ปากเพื่อทำแบบจำลอง
  • แบบจำลองและรายละเอียดทั้งหมดจะถูกส่งไปยังห้องแลบเพื่อทำสะพานฟัน
  • ทันตแพทย์จะทำการติดสะพานฟันแบบชั่วคราวให้แก่ผู้ป่วยสำหรับใช้งานระหว่างการรอการผลิตสะพานฟันแบบถาวร

2. ขั้นตอนการติดสะพานฟัน

  • การรื้อสะพานฟันแบบชั่วคราวออก
  • การติดยึดสะพานฟันแบบถาวรบนฟัน การตรวจเช็คและการปรับแต่งสะพานฟันให้มีความเหมาะสมที่สุด
  • ขั้นตอนการดูแลรักษา
  • ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำด้านการดูแลทำความสะอาดเพื่ออายุการใช้งานที่ยาวนาน
  • ซึ่งขั้นตอนการเตรียมฟันและการติดยึดสะพานฟันนั้นอาจก่อให้เกิดการเสียวฟันได้ ซึ่งอาการดังกล่าวจะสามารถหายได้เองในเวลาไม่นาน
กลับไป –> หน้ารวมบริการ
กลับไป –> หน้ารีวิวเคสรวม
กลับไป –> หน้าแรก

White Teeth Dental Clinic