ศัลยกรรมช่องปากและฟัน (ถอนฟัน ผ่าตัดกระดูกและผ่าตัดฟันคุด)

ศัลยกรรมช่องปากและฟัน (ถอนฟัน ผ่ากระดูกและผ่าฟันคุด)

ศัลยกรรมช่องปากและฟัน คลินิกทันตกรรมไวท์ทีธ โดยทันตแพทย์เฉพาะทาง

ศัลยกรรมช่องปากและฟัน (ถอนฟัน ผ่ากระดูกและผ่าฟันคุด)

                  ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัยและการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย

1 ทันตกรรมแบบทั่วไปการผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด

2 การถอนฟัน

3 การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายกระดูก (Bone graft surgery)

 

                 ฟันคุด แท้จริงแล้วคือฟันกรามซี่ที่สาม ซึ่งเป็นฟันกรามที่จะขึ้นเป็นลำดับสุดท้ายของการขึ้นของฟันทั้งหมด โดยจะขึ้นในช่วงอายุประมาณ 18-20 ปี แต่ส่วนใหญ่แล้ว ฟันซี่นี้มักจะไม่สามารถขึ้นมาได้ตามปกติ เลยทำให้เรียกฟันซี่นี้ว่าฟันคุดนั่นเอง ทั้งนี้ถึงแม้ในช่องปากของผู้ป่วยบางรายอาจจะมีพื้นที่เพียงพอที่จะให้ฟันกรามซี่ที่สาม สามารถขึ้นมาได้บ้างหรือขึ้นมาได้ทั้งหมด แต่ถ้าหากทันตแพทย์ทำการตรวจวินิจฉัยและเห็นถึงความเสี่ยงต่างๆ อันจะเกิดตามมาในภายหลัง เช่น การดูแลทำความสะอาดได้ยาก, เกิดการติดเชื้อและอักเสบหรือเป็นอุปสรรคต่อการบดเคี้ยว เป็นต้น ภายหลังการตรวจวิเคราะห์โดยละเอียดแล้ว ทันตแพทย์อาจแนะนำให้ถอนฟันซี่นี้ออก เพื่อป้องกันการลุกลามของสาเหตุดังที่กล่าวมาได้

ถอนฟันคุด ผ่าตัดฟันคุด - คลินิกทันตกรรมไวท์ทีธ

 

ข้อสังเกตถึงลักษณะอาการที่อาจเกิดจากฟันคุด

1. ปวดบริเวณเหงือก

2. เหงือกมีลักษณะบวมแดงหรือเป็นถุงน้ำในตำแหน่งด้านในสุดของฟันกรามซี่ที่สอง

3. อาการบวมที่ลำคอหรือแก้ม ซึ่งคลำแล้วมีลักษณะเป็นก้อนนิ่มหรือแข็ง

การถอนฟัน

สาเหตุที่ต้องถอนฟัน

ฟันผุลึกถึงชั้นโพรงประสาทฟัน และสูญเสียเนื้อฟันเป็นบริเวณกว้าง จนไม่สามารถรักษาได้

เป็นโรคเหงือกขั้นรุนแรง

ฟันบิ่นหรือแตก, ร้าวในแนวดิ่งจนยากที่จะรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

อยู่ในตำแหน่งที่ไม่สามารถขึ้นได้ และหากปล่อยทิ้งไว้อาจทำให้เกิดปัญหาอื่นๆตามมา เช่น ฟันคุด, ฟันฝัง

เป็นการถอนเพื่อเตรียมจัดฟัน

ขั้นตอนการรักษา

พบทันตแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยถึงความจำเป็นในการถอนฟัน

ในบางกรณีอาจมีความจำเป็นที่จะต้องถ่าย X-Ray เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัย

ทันตแพทย์มีความจำเป็นต้องขอซักประวัติด้านสุขภาพเพื่อบันทึกข้อมูล เช่น ประวัติโรคประจำตัว, ประวัติการแพ้ยา, แพ้อาหาร หรือหากมียาที่ต้องใช้เป็นประจำ

เป็นต้น

เตรียมบริเวณตำแหน่งที่ต้องถอนฟัน โดยทันตแพทย์จะฉีดยาเพื่อระงับความรู้สึกเจ็บขณะทำการรักษา จากนั้นทันตแพทย์จะทำการถอนฟัน

ทันตแพทย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อปฏิบัติและการดูแลแผลที่เกิดจากการถอนฟัน รวมทั้งการดูแลทำความสะอาด

คำแนะนำและข้อปฏิบัติภายหลังการถอนฟัน

กัดผ้าก๊อซไว้แน่นๆ ประมาณ 30-45 นาที เมื่อครบเวลาให้คายผ้าก๊อซทิ้ง หากยังมีเลือดไหลอยู่ให้กัดผ้าก๊อซชิ้นใหม่ต่อประมาณ 30 นาที แต่ถ้ามีเลือดซึมเพียงเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องกัดผ้าก๊อซต่อ

หลีกเลี่ยงการบ้วนปากหรืออมน้ำแข็ง หากต้องการประคบให้ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งหรือเจลเย็นประคบด้านนอกแทน

หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ผสมและหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสจัดในช่วง 2-3 วันแรกภายหลังการถอนฟัน

สามารถทำความสะอาดได้ตามปกติ แต่บริเวณแผลถอนฟันให้แปรงเบาๆ

หากต้องการใช้น้ำยาบ้วนปาก สามารถใช้ได้ แต่ควรเลือกชนิดที่ปราศจากส่วนผสมของแอลกอฮอล์ และควรใช้ภายหลังจากที่ถอนฟันไปแล้วไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

หากมีอาการปวดแผลถอนฟัน ให้ทานยาแก้ปวดตามที่ทันตแพทย์แนะนำ

หลังการรักษาสามารถกลับบ้านได้ทันที โดยแผลถอนฟันจะค่อยๆ หายเป็นปกติภายใน 7 วัน

การปลูกถ่ายกระดูก คืออะไร ?

                   การปลูกถ่ายกระดูก หรือการเสริมกระดูก เป็นอีกหนึ่งวิธีของการรักษาที่สามารถช่วยให้ผลการรักษาออกมาสมบรูณ์แบบมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะให้การรักษาในกรณีที่ปริมาณของกระดูกขากรรไกรไม่สมบูรณ์หรือมีไม่เพียงพอ เช่น ในกรณีที่จะทำการปลูกรากเทียม (Implant) หรือแก้ไขความไม่สมดุลของรูปหน้าเป็นต้น ส่วนกระดูกที่จะนำมาปลูกถ่ายนั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา ในการเลือกประเภทของวัสดุที่จะนำมาใช้งานให้เหมาะสมกับลักษณะทางกายวิภาคของคนไข้แต่ละท่าน

ศัลยกรรมช่องปากและฟัน - คลินิกทันตกรรมไวท์ทีธ                   

                ในปัจจุบันการปลูกถ่ายกระดูกสามารถทำควบคู่ไปกับการปลูกรากฟันเทียมได้เลย ส่วนกระดูกที่นำมาใช้งานนั้นทันตแพทย์อาจใช้กระดูกของคนไข้เอง หรือใช้กระดูกสังเคราะห์ ขึ้นอยู่กับความเพียงพอและความเหมาะสมกับลักษณะของงานที่ทำประกอบกัน ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือคนไข้ไม่ต้องเสียเวลาในการมาพบทันตแพทย์บ่อยครั้ง

กลับไป –> หน้ารวมบริการ
กลับไป –> หน้ารีวิวเคสรวม
กลับไป –> หน้าแรก

White Teeth Dental Clinic